f cover

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ทำเองได้ชิว ๆ Don’t worry หายห่วง!!


มีแฟนเป็นชาวต่างชาติ อยากจดทะเบียนสมรสต้องไปที่ไหน?! จดที่ไทยได้หรือเปล่า หรือต้องจดที่ตปท.เท่านั้น  ใคร Worry!! เรื่องนี้อยู่ สบายใจได้!! เพราะ ในบทความนี้ Weddinglist จะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ เริ่มตั้งแต่การเตรียมเอกสาร การยื่นขอใบรับรองการเป็นโสด ไปจนถึงการจดทะเบียนสมรสอย่างเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคู่สมรสต่างสัญชาติมาให้ด้วยนะ  ตามม่ะ เราทำเป็นข้อ ๆ ไว้ให้ทำตามสเต็ปนี้ไปแบบชิว ๆ

Where to go จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าการจดทะเบียนสมรสต้องดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากการจดทะเบียนสมรสต้องมีการลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนและพยานอีก 2 คน และคนไทยคนไหนมีแฟนเป็นชาวต่างชาติต้องการจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนที่ไทยเสมอไป อยู่ต่างประเทศก็จดได้ โดยจะต้องไปจดทะเบียนตามนี้   

  • อยู่ประเทศไทย ต้องไปจดทะเบียนสมรสที่ทำการอำเภอ 
  • อยู่ต่างประเทศ ต้องไปจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆ

ในอนาคตหากจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ประเทศบ้านเกิดของสามีหรือภรรยาก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสซ้ำอีก แต่ให้ติดต่อรับรองการจดทะเบียนสมรสของประเทศนั้น ๆ เช่น สามีชาวอังกฤษสมรสกับภรรยาชาวไทยที่ที่ว่าการอำเภอ มีผลบังคับตามกฏหมายไทย

จากนั้นให้นำเอกสารไปยื่นคำร้องที่สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทยเพื่อให้รับรองให้การสมรสนี้มีผลตามกฎหมายอังกฤษด้วย

จดทะเบียนสมรสต่างชาติ

Who can do การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติในประเทศไทย

  1. อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม
  2. อายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้สมรสได้
  3. อายุ 20 ปีบริบูรณ์สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  4. ฝ่ายชายหรือหญิงต้องมีสัญชาติไทย
  5. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
  6. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดามารดา
  7. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  8. หญิงที่สามีตายหรือสิ้นสุดการสมรสลงได้ประการอื่น อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
แต่งงานกับต่างชาติ

What you need เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนสมรสกับต่างชาติที่ประเทศไทย

สำหรับชาย/หญิงชาวไทย

  1. บัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทางประเทศไทย (Passport) 
  2. ทะเบียนบ้าน
  3. เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุล , ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยสมรสและหย่าร้างมาก่อน)
  4. พยาน 2 คน (ฝ่ายละ 1 คน)  และบัตรประชาชนของพยาน โดยพยานจะต้องเป็นบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา ญาติ พี่น้อง
จดทะเบียนกับต่างชาติ
  • สำหรับชาวต่างชาติ

  1. ใบรับรองโสด (กรณีจดทะเบียนที่เขต/อำเภอในประเทศไทย)

– ใบรับรองโสดออกจากประเทศต้นทาง : รับรองนิติกรณ์เอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศของประเทศต้นทาง และ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้น หลังจากนั้น แปลเป็นภาษาไทย และรับรองนิติกรณ์เอกสารที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล

– ใบโสดออกจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ต่างประเทศประจำประเทศไทย : แปลเป็นภาษาไทย และนำมารับรองนิติกรณ์เอกสารที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล

  1. หนังสือเดินทาง  (Passport) และวีซ่าที่ถูกต้อง (ถ้ามีความจำเป็น)
  2. บิดา-มารดา มาให้ความยินยอม (กรณีคู่สมรสอายุต่ำกว่า 20 ปี)
  3. พยาน 2 คน (ฝ่ายละ 1 คน)
  4. เอกสารอื่น ๆ เช่น  ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุล , ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยสมรสและหย่าร้างมาก่อน)
  5. ทะเบียนบ้าน

Tips : เอกสารต่าง ๆ ที่เป็นภาษาต่างประเทศ ควรเตรียมฉบับแปลภาษาไทยที่ได้รับตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศด้วย

What you can choose เลือกได้หลังจากจดทะเบียน

  • ใช้นามสกุลเดิมทั้งสองฝ่าย
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลตามสามี
  • ผู้ชายใช้นามสกุลตามภรรยา
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลสามี ผู้ชายใช้นามสกุลภรรยา
  • ผู้หญิงไทยที่สมรสกับสามีต่างชาติสามารถใช้นามสกุลเดิมของตนเองเป็นชื่อรองได้

และเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วคนไทยที่ได้ทำการเปลี่ยนนามสกุลควรรีบดำเนินการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนราษฎร์ให้เรียบร้อยพร้อมทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด

สมรสกับต่างชาติ

3 ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติที่เขตหรืออำเภอ

  1. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน
  2. ไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ พร้อมล่าม และ พยานจากทั้ง 2 ฝ่าย
  3. เมื่อจดทะเบียนสมรสเสร็จเรียบร้อย จะได้รับใบทะเบียนสมรส คร2 และ คร3 สำหรับทั้งสองฝ่าย คนละ 1 ชุด

Tips สำหรับผู้ที่จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ

  • สำหรับผู้ที่วางแผนจะขอวีซ่า หรือต้องนำเอกสารไปดำเนินการต่อที่ต่างประเทศ ควรขอคัดใบทะเบียนสมรสฉบับภาษาอังกฤษด้วย สำนักงานเขตสามารถออกเอกสารเป็นภาษาอังกฤษให้ได้ หรือนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วรับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศก่อน ถึงจะนำใบทะเบียนสมรสนิติกรรมต่าง ๆ ต่อไปได้
  • ควรตรวจสอบข้อมูลล่าสุดกับทำการทะเบียนที่เทศบาลท้องถิ่นหรือที่ทำการทะเบียนสมรสเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนหรือเอกสารที่จำเป็นไปแล้ว

Did you know? เรื่องน่ารู้สำหรับคู่สมรสต่างสัญชาติ

  • ลูกที่เกิดมาถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่วันที่พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน
  • ถ้าคนไทยไปจดทะเบียนสมรสในสถานทูตของประเทศอื่นภายใต้กฎหมายของประเทศอื่นสามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยนำเอกสารที่จดทะเบียนทั้งหมดแปลเป็นภาษาไทยแล้วมายื่นเรื่องดำเนินการรับรองที่สำนักงานเขตอำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่
  • สมรสกับชาวต่างชาติตามกฏหมายต่างชาติมาหย่าที่สำนักงานเขตอำเภอในไทยไม่ได้
  • สมรสกับชาวต่างชาติตามกฎหมายไทยมาหย่าที่สำนักงานเขตอำเภอในไทยหรือสถานทูตไทยได้

อ้างอิง

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการกงสุล