งานแต่งอิสลาม004

วะลีย์หรือพยานในการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม


วะลีย์หรือพยานในพิธีแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม

วะลีย์

วะลีย์หรือผู้ปกครอง ของฝ่ายหญิง ที่จะทำการแต่งงานนั้น มีเงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเป็นผู้ชาย เป็นไท และบรรลุวัยแห่งศาสนภาวะ มีสติปัญญา เป็นคนที่มีความคิดแยกแยะได้ และต้องนับศาสนาเดียวกันกับเจ้าบ่าว

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1010

สำหรับผู้ที่มีอำนาจเป็นผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว

ผู้ปกครองนั้นก็คือ พ่อของหญิง ซึ่งเป็นผู้ทีมีความเหมาะสมที่สุดในการทำการแต่งงานของบุตรสาว หรือเจ้าสาว ถัดไปก็คือผู้ที่พ่อได้ทำการสั่งเสียให้ทำการแทน ก็คือปู่ ต่อจากนั้นก็จะลูกชาย จากนั้นก็คือพี่ชาย น้องชาย หลังจากนั้นก็จะเป็นผู้ที่มีเชื้อสายใกล้ชิดมากที่สุด หากไม่มีสุดท้ายคือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (วะลีย์ สุลฏอน)

ผู้เป็นพยานในงานแต่งงาน

สุนัตให้มีพยานในงาสนแต่งงาน ซึ่งต้องเป็นชาย 2 คนที่มีคุณธรรมและความยุติธรรม และเป็นมุกัลลัฟ (บุคลที่บรรลุวัยทางศาสนภาวะ และเป็นบุคลปกติที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจตามบัญญัติทางศาสนา) หากการแต่งงานมีพยานรู้เห็น 2 คนและมีการประกาศให้รับทราบ ก็ถือว่าเป็นพิธีแต่งงานที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ถ้าได้มีการประกาศให้รับทราบ โดยไม่มีพยาน 2 คน หรือมีพยานรู้แต่ไม่ได้ประกาศ ก็ถือว่าการแต่งงานนั้นใช้ได้เช่นกัน

หุก่มการแต่งงานโดยไม่มีวะลีย์

ถ้าผู้ปกครองของฝ่ายหญิงไม่รับที่จะเป็นวะลีย์ หรือไม่มีเงื่อนไขพร้อมที่จะเป็นวะลีย์ หรือไม่อยู่ และไม่สามารถเรียกให้เขามาเป็นวะลีย์ได้ เว้นแต่ด้วยความยากลำบาก ก็ให้ผู้ปกครองคนอื่นๆถัดไปมาทำการแต่งงานให้เจ้าสาวแทน
การแต่งงานโดยไม่มีผู้ปกครองนั้นใช้การไม่ได้ เพราะไม่ถูกวิธี จำเป็นต้องยกเลิกการแต่งงานนั้นกับผู้พิพากษา หรือด้วยการหย่าร้างตากเจ้าบ่าวต่อเจ้าสาวแต่ถ้าหากเจ้าบ่าวมีความสัมพันธ์กับเจ้าสาวด้วยการแต่งงานที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว ก็จำเป็นต้องจ่ายค่าสินสอด และการแต่งงานถือว่าเป็นโมฆะ

เครดิตรูป Tum Seventy-Seven Wonder

ที่มา https://sites.google.com

กฏและข้อห้ามในการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม
ขั้นตอนการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม
เงื่อนไขการแต่งงานตามประเพณีแบบมุสลิม