งานแต่งอิสลาม006

ขั้นตอนพิธีแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม (นิกะห์)


การลำดับขั้นตอนการจัดงานแต่งงานตามประเพณีการแต่งงานที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน การสู่ขอ การหมั้น การแต่งงาน  เพราะการแต่งงานนั้นถือว่าเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมากเนื่องจากถูกบัญญัติไว้ในหลักศาสนา ซึ่งพิธีแต่งงานนั้นจะไม่นิยมทำช่วงพิธีฮัจญ์

รายละเอียดขั้นตอนการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม มีดังนี้

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1001

1. การสู่ขอ
ในสมัยก่อนการสู่ขอของฝ่ายชายจะให้ญาติผู้ใหญ่ที่เป็นหญิงล้วน ไปสู่ขอกับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง เมื่อพ่่อแม่ของฝ่ายหญิงตกลง ก็จัดการกำหนดวันหมั้น การตอบตกลงของพ่อแม่ฝ่ายหญิง จะไม่ขอความเห็นจากลูกสาว แต่ในปัจจุบันผู้ไปสู่ขอ คือบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย ซึ่งต้องไปสู่ขอกับผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิงพร้อมกับนำขนมและผลไม้ไปฝากทางด้านฝ่ายหญิงด้วย
จากนั้นเมื่อไปถึงแล้วก็บอกว่า “มีธุระ ที่จะขอปรึกษาด้วย” แล้วสอบถามว่าผู้หญิงที่ต้องการไปสู่ขอ “มีคู่รึยัง” ถ้าฝ่ายหญิงบอกว่า”ไม่มี” ก็จะบอกว่า ต้องการสู่ขอให้กับใคร ฝ่ายหญิงจะไม่ตอบตกลงในตอนนั้นและจะไม่ตอบรายละเอียด แต่จะขอเวลาปรึกษากันระหว่างญาติๆ ประมาณ 7 วัน ในช่วงนั้นฝ่ายหญิงอาจจะส่งคนที่นับถือไปบอกฝ่ายชายในกรณีที่ตกลง ถ้าไม่ตกลงก้จะเงียบเฉยให้เป็นที่รู้กันเอาเอง เมื่อฝ่ายหญิงตกลง ฝ่ายชายก็จะไปคุยกำหนดเรื่องวันแต่งงาน สินสอดทองหมั้น และมะฮัรฺ

2.การหมั้น
ในอดีตเมื่อถึงกำหนดวันหมั้น ฝ่ายชายจะจัดขบวนเถ้าแก่ ขบวนขันหมากไปยังบ้านของฝ่ายหญิง ฤกษ์แห่ขันหมาก จะใช้เวลาช่วงเย็นประมาณ 4 -5 โมงเย็น “ขันหมาก”ประกอบด้วย พาน 3 พาน คือ พานหมากพลู พานข้าวเหนียวเหลือง และพานขนม แต่บางรายที่มีฐานะดี ก็อาจจะเพิ่มพานขนมขึ้นอีกก็ได้ พานหมากพลูนั้นจะมีเงินสินสอดใส่ไว้ใต้หมากพลู เงินจำนวนนี้เรียกว่า ลาเปะซีเฆะ หรือเงินรองพลู ส่วนพานขนมนั้นจะประกอบไปด้วย ขนมก้อ (ดูปงปูตู) ข้าวพองและขนมก้อน้ำตาล (ดูปงฮะลูวอคีแม) ซึ่งขันหมากเหล่านี้จะถูกห่อด้วยผ้าสีสวย

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1003

เมื่อฝ่ายชายไปถึง เถ้าแก่ฝ่ายชายก็จะกล่าวขึ้นว่า”วันนี้ (ออกชื่อเจ้าบ่าว)ได้เอาของมาหมั้น(ชื่อเจ้าสาว)แล้ว เมื่อเถ้าแก่ของฝ่ายหญิงรับของหมั้นแล้ว เถ้าแก่ฝ่ายชายจะถามต่อไปทันทีเลยว่า”เงินหัวขันหมากนั้นเท่าใด” ซึ่งเถ้าแก่ฝ่ายหญิงจะต้องตอบ จากนั้นเป็นการปรึกษาหารือถึงกำหนดวันแต่งงาน วันจัดงานและการกินเลี้ยง ก่อนที่ฝ่ายชายจะกลับนั้น ฝ่ายหญิงจะนำผ้าโสร่งชาย (กาเฮงแปลก๊ะ) หรือผ้าดอกปล่อยชาย (กาเฮงปาเต๊ะลือป๊ะ) อย่างใดอย่างหนึ่งใส่พานที่ใส่หมากพลูมาหมั้นส่วนพานข้าวเหนียวเหลืองและพานขนมก็จะได้รับจากฝ่ายหญิงกลับเช่นกัน

*** การหมั้นในปัจจุบันจะทำ 2 ลักษณะคือ หมั้นก่อนแต่ง ทำพิธีนิกะห์ (การแต่งที่ถูกต้องตามหลักศาสนา) หรือหมั้นหลังทำพิธีนิกะห์ ซึ่งจะเป็นผลดีและมีข้อห้ามที่ต่างกัน กล่าวคือถ้าหมั้นก่อนแต่งงาน เจ้าบ่าวจะถูกเนื้อต้องตัวเจ้าสาวไม่ได้ ส่วนการหมั้นหลังพิธีนิกะห์แล้ว เจ้าบ่าวสามารถถูกเนื้อต้องตัวเจ้าสาวได้เจ้าบ่าวจึงสวมของหมั้น ให้กับเจ้าสาวได้ และสามารถจัดพิธีนั่งบัลลังก์ เพื่อให้ญาติทั้ง 2 ฝ่ายร่วมยินดีได้อย่างสมเกียรติ ส่วนขันหมากมีการจัดเหมือนที่เคยเป็นมา

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1008

3.พิธีแต่งงาน
ในอดีตพิธีแต่งงานโดยทั่วไปจะจัดหลังวันหมั้นแล้วไม่เกิน 2 สัปดาห์ โดยถือฤกษ์ 4-5 โมงเย็น ของวันใดวันหนึ่ง ฝ่ายเจ้าบ่าวจะยกขันหมากไปยังบ้านเจ้าสาว ขบวนขันหมากนี้จะประกอบด้วยเจ้าบ่าว เพื่อนเจ้าบ่าว และญาติผู้ใหญ่ประมาณ 5-6 คน การไปคราวนี้ไม่มีข้าวของอะไรต้องนำไป นอกจากเงินหัวขันหมาก (จะต้องเป็นเลขคี่) ซึ่งใส่ไว้ในขันหมากทองเหลืองใบเล็กๆ ห่อหุ้มด้วยผ้าเช็ดหน้าให้เจ้าบ่าวถือไป และกล้วยพันธ์ดี เช่น กล้วยหอม 2-3 หวี เท่านั้น ในวันดังกล่าว ทางบ้านเจ้าสาวก็ต้องเตรียมการต้อนรับโดยเชิญโต๊ะอิหม่ามเป็นประธานในพิธีแต่งงาน พร้อมด้วยคอเต็มและผู้ทรงคุณธรรมอีก 1 คน เพื่อเป็นสักขีพยานซึ่งผู้ทรงคุณธรรมนั้นจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนันหรือบุคลอื่นก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่คนๆนั้นต้องเป็นที่ยอมรับว่ามีศีลสัตย์ เมื่อหัวขันหมากไปถึงบ้านเจ้าสาว ฝ่ายเจ้าสาวจะให้การต้อนรับ โอกาสนี้เจ้าบ่าวจะส่งมอบเงินหัวขันหมากให้กับโต๊ะอิหม่าม เพื่อที่โต๊ะอิหม่ามจะตรวจนับให้ถูกต้องครบถ้วนและควบคุมเงินขันหมากนั้นไว้ จากนั้นก็มีการร่วมรับประทานอาหารกัน

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1010

ส่วนเจ้าสาวนั้นจะเก็บตัวไว้ในห้องหรือในครัวเท่านั้นหลังจากการเลี้ยงอาหารผ่านพ้นไปแล้ว เจ้าบ่าวไปนั่งขัดสมาธิลงเบื้องหน้าโต๊ะอิหม่าม โอกาสนี้พ่อเจ้าบ่าวจะไปถามเจ้าสาวยินยอมหรือไม่ การถามตอบครั้งจะมีพยานอยู่ใกล้ๆ หากหญิงสาวไม่ยินยอมก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ที่สามารถเกลี้ยกล่อมอ้อนวอนให้เจ้าสาวยอมเข้าพิธี เมื่อทางเจ้าเจ้าสาวยินยอมแล้วนั้น พยาน 2 คนก็รับทราบด้วย ก็จะเริ่มดำเนินการขั้นตอนถัดไป ซึ่งต้องเป็นพ่อหรือเป็นผู้ปกครอง(ต้องเป็นชายเท่านั้น)ของเจ้าสาว “วอเกล์”กับโต๊ะอิหม่าม บิดาจะต้องเป็นผู้จัดการแต่งงานให้กับบุตรสาวของตน แต่เมื่อผู้เป็นบิดาไม่มีความรู้ ความเข้าใจในพิธีปฏิบัติ ก้ต้องมอบหมายให้ผู้มีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติเเทน จากนั้นจะมีการอ่านศาสนบัญญัติที่เกี่ยวกับการแต่งงานเรียกว่า” บาจอกุฐตีเบาะห์” ซึ่งอ่านโดยคอเติบ หรือโต๊ะอิหม่าม เมื่อจบจาก” บาจอกุฐตีเบาะห์ ” แล้ว โต๊ะอิหม่ามก็จะยื่นมือไปจับปลายนิ้วมือของเจ้าบ่าวนิ้วหนึ่ง นิ้วใดก็ได้เพียงนิ้วเดียว พร้อมกับเริ่มประกอบพิธีแต่งงานให้โดยกล่าววาจาเป็นสำคัญ โต๊ะอิหม่ามจะกล่าวว่า “ยา…อับดุลเลาะห์ อากูนิกะห์ อากันดีเกา บาร์วอเกล์วอ ลีปาเปาะญอ อากันดากู คืออันฮาลีเมาะ เป็นดีมูฮัมมัด อีซีกะห์ เบ็นซะบาเญาะญอ สะราดฆอปู และดีโยโก๊ะดูนา” แล้วเจ้าบ่าวต้องกล่าวตอบรับตาม “อากูตรีมอ นิกะห์ญอ คืองันอีซึกะห์ เว็ซะบาเญาะ ตีรึซีโมะอึดู” แปลว่าได้รับการยอมรับการแต่งงาน ตามจำนวนเงินหัวขันหมากดังกล่าว

เครดิตรูป Tum Seventy-Seven Wonder

ที่มา https://sites.google.com

เงื่อนไขการแต่งงานตามประเพณีแบบมุสลิม
วะลีย์หรือพยานในการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม
กฏและข้อห้ามในการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม