1024x683 2

ก้าวย่างสำคัญสำหรับคู่รัก LGBTQ ในไทยกับร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต


ความรักเป็นสิ่งสวยงามและเป็นเรื่องของความรู้สึก หลายครั้งที่เราไม่อาจจะเข้าไปกะเกณฑ์ได้ว่าจะต้องเกิดขึ้นกับใคร ในสถานภาพไหน หรือเพศใด  แต่สิทธิ์ที่พึงได้ก็คือทุกคนควรจะต้องมีสิทธิในการเลือกคู่ครองได้อย่างเท่าเทียม เปิดรับต่อความหลากหลายทางเพศ การติดเกราะเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งในขณะนี้หลายคนกำลังตื่นตัวกับเรื่องร่าง พ.ร.บ คู่ชีวิต ซึ่งถือเป็นก้าวย่างสำคัญของสังคมไทยในการส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมของคนทุกเพศ และในวันนี้ Weddinglist จะพามาแกะสาระสำคัญพ.ร.บ.คู่ชีวิตกันค่ะ

27035

◊ สาระสำคัญร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต ◊

“คู่ชีวิต” หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้

  1. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้
  2. กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
  3. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
  4. กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรค 1) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  5. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัว และทรัพย์สินร่วมกัน
  6. คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียน รับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตน ด้วยก็ได้
  7. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
  8. กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
6396

♦ สิทธิ หน้าที่ ศักดิ์ศรีที่จะได้รับ ♦

 

สิทธิในการหมั้นและการรับหมั้น

 หน้าที่ในการเลี้ยงดูกันและกัน

 สิทธิในการเรียกร้องค่าอุปการะ

 สิทธิในการดำเนินคดีแทนคู่อีกฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีฯ อาญา

  สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน

  สิทธิให้การให้/รับมรดก

 สิทธิในการเลิกการเป็นคู่ (หย่า) โดยความยินยอม หรือโดยคำพิพากษาศาล

สิทธิในการฟ้องเลิกการเป็นคู่ (หย่า) โดยเหตุแห่งความผิดของอีกฝ่าย

สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน

สิทธิในการดำเนินการตั้งครรภ์แทนโดยอาศับเทคโนโลยี

สิทธิในศักดิ์ศรีการเป็นคู่สมรสตาม ป.พ.พ.

 หน้าที่เป็นผู้อนุบาล/ผู้พิทักษ์ ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

สิทธิยินยอมรักษาพยาบาลอีกฝ่าย

สิทธิจัดการศพอีกฝ่ายที่เสียชีวิต

 สิทธิรับสวัสดิการร่วมจากรัฐในฐานะคู่สมรส

 สิทธิในกองทุนประกันสังคมในฐานะคู่สมรส

สิทธิในการใช้ชื่อสกุลร่วมกับอีกฝ่าย

 สิทธิของคู่ต่างชาติอีกฝ่ายในการขอเปลี่ยนเป็นสัญชาติไทย

 สิทธิในการขอวีซ่าในฐานะคู่สมรส

 การเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2438153

แม้ปัจจุบันจะมีหลายเสียงออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในสิทธิ์ความเท่าเทียมที่ได้รับยังคลุมเครือ และยังต้องลุ้นกันต่อไปว่าร่างพ.ร.บ.นี้จะผ่านหรือไม่ หรือจะมีการแก้ไขให้ชัดเจนอย่างไรต่อไป แต่นี่ก็ถือว่านับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทย ที่เปิดโอกาสให้กับความหลากหลายทางเพศ และส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกคู่ครองได้อย่างเท่าเทียม ไร้ข้อจำกัดได้มากยิ่งขึ้น