COVID 19

เกาะติดทุกความเคลื่อนไหว ใช้ชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปกับ Weddinglist


รวมข้อมูลข่าวสารและอัปเดตสถานการณ์ล่าสุด โควิด-19 ในประเทศไทย

วันที่ 19 สิงหาคม 2563

ยอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 3,382 คน

เพิ่มขึ้น 1 คน (จาก State Quarantine 1 คน + จากในประเทศ 0 คน)

ไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเป็นวันที่ 86 ติดต่อกัน

รักษาหายแล้ว (กลับบ้านได้)

3,199 คน

เพิ่มขึ้น 1 คน

อยู่ระหว่างรักษาในโรงพยาบาล

125 คน

เสียชีวิต

58 คน

เพิ่มขึ้น 0 คน

UPDATE : สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุด

ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง 31 ส.ค. 63

วันนี้ (22 กรกฎาคม 2563) ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติขยายการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วราชอาณาจักร ออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 ส.ค. 2563 โดยหลังจากศบค.ชุดใหญ่ มีมติแล้ว จะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติต่อไป

ข้อมูลจาก : แถลงสถานการณ์ COVID-19 โดย ศบค. วันที่ 22 ก.ค. 63

โรคติดต่อจะไม่ติดต่อ ถ้าเราไม่ติดต่อกัน : ใช้ชีวิตอย่างไรให้ไกลจากโควิด-19

สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน

 ล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ ครั้งละอย่างน้อย 20 วินาที หรือล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70%

 หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายด้วยมือเปล่า เช่น ปาดเหงื่อ ขยี้ตา เกาหน้า แคะจมูก ฯลฯ แต่ถ้าคิดว่าหลีกเลี่ยงลำบาก ควรล้างมือให้บ่อย ๆ เป็นพิเศษ

 กินร้อน ช้อนเรา (แม้แต่ช้อนกลางก็ควรเป็นช้อนส่วนตัวด้วย)

 เวลาพูดคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกันใด ๆ ควรอยู่ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร (ประมาณ 1 ช่วงแขน)

 หลีกเลี่ยงการออกนอกที่พักอาศัย การเดินทาง หรือกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องออกนอกที่พักอาศัย (เว้นแต่ไปพบแพทย์หรือมีธุระจำเป็น)

 หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีผู้คนรวมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น รถไฟฟ้า ตลาด ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สถานบันเทิง ร้านอาหารต่าง ๆ

 หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่ม เช่น ปาร์ตี้สังสรรค์ ทริปเที่ยว งานกิจกรรม งานบุญประเพณีต่าง ๆ

เปิดมาตรการช่วยเหลือแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นายจ้าง-ลูกจ้าง ได้หมด แม้จะไม่เข้าประกันสังคมก็ตาม

ประกันสังคมช่วยเหลืออย่างไรในวิกฤตโควิด-19

  ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้กับนายจ้าง – ผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) อัตราร้อยละ 4 ในระยะเวลา 6 เดือน

  เมื่อหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง (ไม่เกิน 7,500 บาท) ระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน

  ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากปัญหาโควิด-19 ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง (ไม่เกิน 7,500 บาท) ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน

 จ่ายประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนเพิ่ม แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีว่างงานจากการลาออก ร้อยละ 45 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • กรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง ร้อยละ 70 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

รัฐบาลออกมาตรการชดเชยรายได้ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

คุณสมบัติ

  • เป็นแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว หรือประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19

หลักฐาน

  • บัตรประชาชน
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข้อมูลนายจ้าง

ช่องทางการลงทะเบียน

  • www.เราไม่ทิ้งกัน.com เริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

ช่องทางการรับเงิน

  • พร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน
  • โอนเข้าบัญชีทุกธนาคาร

สาระสำคัญ : นายกฯ ประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน สกัดโควิด-19
เริ่มมีผลบังคับใช้ 26 มีนาคม 2563 – 30 เมษายน 2563

สรุปมาตรการต่าง ๆ ตามข้อกำหนดที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนดังนี้

ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง โดยห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 (สถานที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะรัฐมนตรีสั่งให้ปิดก่อนหน้านี้)

 ส่วนแหล่งท่องเที่ยวสาธารณะ เช่น ชายหาดริมทะเล เขื่อน อ่างเก็บน้ำ พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน สวนสาธารณะ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาตามความเหมาะสม

 ห้ามคนต่างชาติเดินทางเข้าราชอาณาจักร ทั้งทางเรือ ทางบก ทางอากาศ ยกเว้นผู้มีสัญชาติไทยที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศไทย แต่ต้องมีใบรับรองทางการแพทย์ (Fit to Fly), บุคคลที่ได้รับการยกเว้นจากนายกรัฐมนตรี, ผู้ส่งสินค้าตามความจำเป็นและต้องอยู่ชั่วคราว, คณะทูตหรือองค์การระหว่างประเทศที่ต้องทำงานในประเทศไทย

 การเดินทางข้ามจังหวัด จะมีมาตรการเข้าไปเกี่ยวข้องจนทำให้การเดินทางนั้นยากลำบากขึ้นและไม่ควรจะเดินทาง เช่น ฝ่ายความมั่นคงจะตั้งด่านตามรอยต่อจังหวัด และดูว่ายานพาหนะนั้นได้มีการเว้นระยะในรถห่างกันอย่างน้อย 1 เมตรหรือไม่ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าหรือไม่ เรียกลงมาตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจดูว่าสังสรรค์กันมาหรือไม่ และกำลังเตรียมหาแอปพลิเคชันติดตามตัวผู้เดินทางข้ามจังหวัด

 สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ยังคงเปิดบริการตามปกติในเวลาราชการ

 ข้าราชการ พนักงาน คนทั่วไป ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานประกอบการหรือถูกสั่งให้หยุดงาน ยังสามารถเดินทางไปทำงานได้ตามปกติ

รัฐบาลยังไม่ประกาศเคอร์ฟิว ดังนั้น ทุกคนจึงยังสามารถออกจากบ้านได้ตามปกติ ยกเว้นบุคคลกลุ่มเสี่ยงบางประเภท (เว้นแต่ต้องไปพบแพทย์หรือทำธุระจำเป็น) ได้แก่

  • คนสูงอายุเกินกว่า 70 ปี
  • บุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคปอด โรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้
  • เด็กตั้งแต่อายุ 5 ขวบลงมา

 ห้ามกักตุนสินค้าทุกประเภท รวมถึงห้ามขึ้นราคาสินค้าทุกประเภทโดยไม่มีเหตุผล ซึ่งในขณะนี้ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ห้ามส่งออกไข่ไก่สดไปยังนอกราชอาณาจักร เป็นเวลา 7 วัน (เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563) ทุกกรณี

 ห้ามแพร่ข่าวเท็จ สร้างความตื่นตระหนกเกี่ยวกับโควิด-19

อัปเดตเพิ่มเติมจากศบค. ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 จนสิ้นสุด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

  งดการถ่ายทอดการชกมวยในเดือนเมษายน เพราะอาจเป็นการรวมตัวของผู้ชม แม้จะออกอากาศทางโทรทัศน์ก็ตาม

  งดการแข่งเรือเจ็ตสกี

  สำหรับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้ขับขี่และผู้โดยสารซ้อนทายต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

  ปรับพฤติกรรมการตักบาตรตามบริบทพื้นที่ เช่น งดใช้มือหยิบข้าวเหนียวใส่บาตร ซึ่งจะพบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน

  งดการทำวัตรเช้า-เย็นของพระ ที่มีการรวมตัวกันของคณะสงฆ์

  กองถ่ายภาพยนตร์ หรือละคร หรือรายการต่าง ๆ ขอให้งดเว้นการถ่ายทำในช่วงนี้

UPDATE : นายกฯ ประกาศเคอร์ฟิว ! ตั้งแต่ 4 ทุ่ม – ตี 4 

นายกฯ ประกาศเคอร์ฟิว ! ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. – 04.00 น. โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ยกเว้นผู้มีความจำเป็นจะเดินทาง ได้แก่

  • ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ การธนาคาร
  • การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค
  • การขนส่งผลผลิตการเกษตร
  • การขนส่งยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์
  • การขนส่งหนังสือพิมพ์
  • การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
  • การขนส่งพัสดุภัณฑ์
  • การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก
  • การขนย้ายประชาชนสู่พื้นที่ควบคุม
  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน
  • การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืน
  • การเดินทางไปหรือมาจากท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็นจากพนักงานเจ้าหน้าที่
  • การปฏิบัติราชการที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

UPDATE : ระบบขนส่งสาธารณะที่หยุดให้บริการช่วง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 – 30 เมษายน 2563

การบินไทย (Thai Airways) งดบินทุกเส้นทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2563

 สายการบิน Thai Lion Air งดบินทุกเส้นทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 สายการบิน Thai Air Asia งดบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทาง

 สายการบิน Bangkok Airways งดบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทาง

 รถไฟสายเหนือ สายอีสาน และสายใต้ ปิดให้บริการเดินรถทั้งหมด 22 ขบวน

 รถโดยสาร บขส. และบริษัทเดินรถอื่น ๆ งดให้บริการจำหน่ายตั๋วทุกเส้นทางทุกประเภทสำหรับผู้ที่ไม่ได้จองตั๋วโดยสารล่วงหน้า ส่วนผู้โดยสารที่จองตั๋วล่วงหน้าไว้สามารถเดินทางได้ปกติ

  รถโดยสารนครชัยแอร์ ประกาศหยุดเดินรถทุกเส้นทางอย่างไม่มีกำหนด ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

UPDATE : ธนาคารประกาศพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสินเชื่อ เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2563

ธนาคารออมสิน

?‍♀️ สำหรับลูกค้าสินเชื่อปกติจนถึงค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ณ วันที่ 31 มี.ค. 63
 เริ่มพักชำระหนี้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 63 ถึง 30 ก.ย. 63
? ไม่ต้องแจ้งการเข้าร่วมหรือลงทะเบียนใด ๆ หากไม่ประสงค์เข้าร่วมก็สามารถจ่ายชำระได้ตามปกติ

ธนาคารกรุงไทย

?‍♀️ ลูกค้าทุกราย (วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท) ที่ประสงค์จะขอพักชำระเงินต้นเป็นเวลา 3 เดือน
?‍♂️ หรือ กรณีลูกค้าที่มีรายได้ลดลง พักชำระเงินต้น สูงสุด 12 เดือน สามารถติดต่อยื่นคำร้องได้ทางช่องทางของธนาคาร

ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทย)

?‍♀️พักชำระหนี้เงินต้น 3 เดือน สำหรับยอดหนี้ไม่เกิน 3 ล้านบาท หรือ
?‍♂️ พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ
?‍♀️ ลดค่างวดการผ่อนชำระ
?ลงทะเบียนผ่าน LINE Official account : @cimbthai และเตรียมรายละเอียดตามสัญญาสินเชื่อ และข้อมูลติดต่อให้ครบถ้วน

ธนาคารยูโอบี

?‍♀️ พักชำระดอกเบี้ยและเงินต้น 3 รอบบัญชี
?‍♂️ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย 12 รอบบัญชีสามารถติดต่อยื่นคำร้องได้ทางช่องทางของธนาคาร

ธนาคาร ทีเอ็มบี (ทหารไทย) และ ธนชาติ

? สินเชื่อรถยนต์ธนชาต DRIVE พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน
?สินเชื่อบ้านสินเชื่อบุคคลพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
 เริ่มพักชำระหนี้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 63 ถึง 30 มิ.ย. 63

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ในแต่ละธนาคาร

UPDATE : ครม. เพิ่มมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 63

  ครม. เห็นชอบให้สถานศึกษาเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จากเดิม 16 พ.ค. 63 เป็น 1 ก.ค. 63 นี้

  ฟรี ! ค่าไฟฟ้า 3 เดือน สำหรับบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ โดยแต่ละบ้านสามารถใช้ไฟฟ้าฟรีสูงสุดได้ถึง 90 หน่วยต่อเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563

  ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้า ประจำเดือน เม.ย.- มิ.ย. 63 ออกไปอีกไม่เกิน 6 เดือน ของแต่ละรอบบิล สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์

  รัฐบาลเปิดมาตรการดูแลเยียวยา COVID-19 ระยะที่ 3 รวม 1,900,000 ล้านบาท ได้แก่

  • พรก. กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ
  • พรก.ให้อำนาจ ธปท.ออก Soft loan เพื่อดูแลภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs
  • พรก. ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน

  ครม. อนุมัติงบกลาง 801 ล้านบาท จัดซื้อและกระจายหน้ากากอนามัย แจกจ่ายประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน – ตุลาคม 2563

ศบค. ต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินอีก 1 เดือน พร้อมคงไว้ 4 มาตรการที่ต้องใช้ควบคุมโรค ได้แก่ 

  • ควบคุมการเดินทางเข้า-ออกประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
  • งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่มีเหตุจำเป็น
  • ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 23.00-04.00 น. (ประกาศเพิ่มเติม ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563)
  • งดการดำเนินกิจกรรมคนหมู่มาก

ศบค. ผ่อนปรนให้กิจการและกิจกรรม 6 ประเภทได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง ได้แก่

  • ตลาด ได้แก่ ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน แผงลอย
  • ร้านจำหน่ายอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารทั่วไป ร้านเครื่องดื่ม ขนมหวาน ไอศกรีม (นอกห้างสรรพสินค้า) ร้านอาหารริมทาง รถเข็น หาบเร่
  • กิจการค้าปลีก – ส่ง ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อที่มีพื้นที่นั่งหรือยืนรับประทาน รถเร่หรือรถวิ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้าปลีกขนาดย่อม ร้านค้าปลีกชุมชน ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม
  • กิจกรรมกีฬา – สันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมในสวนสาธารณะ (เฉพาะรำไทเก๊ก) สนามกีฬากลางแจ้งที่เป็นการออกกำลังกายและไม่มีการแข่งขัน ได้แก่ เทนนิส ยิงปืน ยิงธนู จักรยาน กอล์ฟ และสนามซ้อม
  • ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย เฉพาะบริการตัด สระ และไดร์ผมเท่านั้น
  • ร้านตัดขนสัตว์ ร้านบริการรับฝากเลี้ยงสัตว์

ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

UPDATE : ศบค. คลายล็อกระยะ 2 ลดเวลาเคอร์ฟิวเหลือ 5 ทุ่ม ถึง ตี 4 พร้อมผ่อนปรนบางกิจการเพิ่มเติมให้กลับมาเปิดทำการได้ เริ่ม 17 พ.ค. นี้ ได้แก่

  เปิดเพิ่มร้านอาหาร-เครื่องดื่มในอาคารสำนักงาน โรงอาหาร ศูนย์อาหารภายในหน่วยงาน โดยเปิดให้ขายนำกลับไปบริโภคที่อื่น และห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

  เปิดศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ โดยปิดเวลา 20.00 น. หรือ 21.00 น. แต่สถานที่ที่ยังปิดต่อไปคือ โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง สเกต คาราโอเกะ สวนสนุก สวนน้ำ สวนสัตว์ พื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย แข่งกีฬา ตู้เกม เครื่องเล่นหยอดเหรียญ ศูนย์ประชุม ห้องประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ โรงเรียน สถาบันกวดวิชา สนามพระเครื่อง พระบูชา ร้านนวดแผนไทย สปา

  ร้านค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ ตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาดผลไม้ เปิดได้โดยควบคุมการเข้า-ออก จัดให้มีการตรวจอุณหภูมิร่างกาย เว้นระยะห่างในการใช้บริการ รวมถึงระยะห่างของแผงค้า

  คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม เฉพาะเรือนร่าง ผิวพรรณ และเลเซอร์ ไม่รวมเสริมความงามบริเวณใบหน้า

  โรงยิม สถานที่ออกกำลังกายในร่ม ฟิตเนส เฉพาะกีฬาตามกติกาสากลที่ไม่มีลักษณะการปะทะกัน โดยอาจเล่นเป็นทีมไม่เกินทีมละ 3 คน และไม่มีผู้ชมการแข่งขัน ได้แก่ แบดมินตัน เซปักตะกร้อ เทเบิลเทนนิส โยคะ สควอต ฟันดาบ ยิมนาสติก ปีนผา

ขณะที่ฟิตเนสเปิดเฉพาะส่วนฟรีเวท ไม่มีการออกกำลังกายแบบรวมกลุ่ม และห้ามใช้เครื่องลู่วิ่ง จักรยานปั่น เครื่อง Elliptical หรือเครื่องออกกำลังกายอื่น

ส่วนสระว่ายน้ำสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่มให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการตามจำนวนเลนของการว่ายน้ำ โดยอาจมีอุปกรณ์ขึงกั้นเลน และใช้บริการได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง

ที่ปิดต่อไปคือ สนามมวย โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ สวนน้ำ สวนน้ำบึงธรรมชาติ กีฬาทางน้ำ เช่น เซิร์ฟบอร์ด เจ็ตสกี บานานาโบ๊ต และเครื่องเล่นกีฬาทางน้ำอย่างอื่น

  ห้องประชุม โรงแรม ศูนย์ประชุม เปิดเฉพาะให้จัดการประชุม (Meeting) ลักษณะนั่งประชุมแบบจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม รวมถึงห้องสมุดสาธารณะ แกลเลอรี พิพิธภัณฑ์ แต่ยังปิดการจัดอบรมสัมมนา นิทรรศการ งานจัดเลี้ยง อีเวนต์ในโรงแรม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า

  กิจกรรมถ่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ รวมทีมงานหน้าฉากและทุกแผนกไม่เกิน 50 คน

  นอกจากนี้ยังปรับระยะเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานเป็นเวลา 23.00-04.00 น. แต่ยังคงงดหรือชะลอการเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด และการเดินทางเข้าราชอาณาจักรทั้งทางบก น้ำ และอากาศ ยังคงมาตรการเดิม

UPDATE : ศบค. คลายล็อกระยะ 3 ลดเวลาเคอร์ฟิวเหลือ 5 ทุ่ม ถึง ตี 3 พร้อมผ่อนปรนบางกิจการเพิ่มเติมให้กลับมาเปิดทำการได้ เริ่ม 1 มิ.ย. นี้ โดยมาตรการหลัก ๆ จะประกอบด้วย

  ปรับเวลาเคอร์ฟิวลดลง 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 23.00-03.00 น.

  ควบคุมการเดินทางเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวดตามเดิม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

  สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ โดยให้อยู่ภายใต้มาตรการที่รัฐกำหนด ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถออกมาตรการที่เข้มงวดกว่ามาตรการกลางก็ได้ เช่น สอบถามธุระหรือกิจกรรมที่จะเข้ามาทำในจังหวัดนี้ ใช้เวลาอยู่ในพื้นที่จังหวัดกี่วัน เป็นต้น

  ขยายเวลาเปิดห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ ได้จนถึงเวลา 21.00 น.

  ยังห้ามดื่มสุราในร้านอาหาร แต่ให้ขายเพื่อไปดื่มที่บ้านเท่านั้น

สำหรับกิจการและกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนปรนเพิ่มเติม มีดังต่อไปนี้

  กิจกรรมกีฬา อนุญาตให้เปิดบริการฟิตเนสหรือยิมได้เต็มรูปแบบ รวมทั้งสนามกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล ลีลาศ โบว์ลิ่ง สเก็ต โรลเลอร์เบลด และเจ็ตสกี ไคท์เซิร์ฟ แต่ยังจำกัดเฉพาะเพื่อการออกกำลังกายและการฝึกซ้อมเท่านั้น

  โรงภาพยนตร์ โรงละคร มหรสพ อนุญาตให้เปิดการ โดยผู้ชมสามารถนั่งคู่กันได้ แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และห้ามเข้าชมเกิน 200 คนต่อรอบฉาย

  ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย สำหรับทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ อนุญาตให้เปิดบริการเพิ่มเติมจากตัด สระ ไดร์ คือ ให้ทำสีผมได้ แต่ต้องใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อคน

  ร้านสปา ร้านนวด อนุญาตให้เปิดบริการได้ตามปกติ แต่ต้องงดบริการอบตัว อบไอน้ำแบบรวม และนวดหน้า 

  เปิดคลินิกเวชกรรมและสถานประกอบการเสริมความงาม รวมทั้งร้านสัก-เจาะผิวหนัง แต่ยังห้ามบริเวณใบหน้า

  ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ จำกัดพื้นที่รวมไม่เกิน 20,000 ตารางเมตร เปิดถึง 21.00 น.

  สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์

โดยกิจการและกิจกรรมดังกล่าว ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการคัดกรองและเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด

กิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับการผ่อนปรน

  โรงเรียนและสถานศึกษาทุกประเภท อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เพื่อการสอบคัดเลือกและอบรมระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังไม่อนุญาตให้เปิดเพื่อการเรียนการสอน

  โรงเรียนเอกชน อนุญาตให้เปิดเฉพาะประเภทวิชาชีพและศิลปะการกีฬา

  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อนุญาตให้เปิดเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาประกอบอาหารสำหรับเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมารับอาหารไปให้เด็กเท่านั้น และยังไม่อนุญาตให้เด็กมาที่ศูนย์ฯ

ข้อมูลจาก : แถลงสถานการณ์ COVID-19 โดย ศบค. วันที่ 29 พ.ค. 63

UPDATE : ศบค. คลายล็อกระยะ 4 ยกเลิกเคอร์ฟิว พร้อมผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเกือบทั้งหมดให้กลับมาเปิดทำการได้แล้ว เริ่ม 15 มิ.ย. นี้ โดยมาตรการหลัก ๆ จะประกอบด้วย

  ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว)

  ยังคงมาตรการควบคุมการเดินทางเข้า – ออกราชอาณาจักรทั้งทางบก น้ำ และอากาศ

  เปิดสถาบันกวดวิชา โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนนอกระบบ รวมทั้งโรงเรียนในระบบที่มีนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกิน 120 คน เช่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)

  เปิดอาคารสถานที่ของหน่วยงานราชการและหน่วยงานในกำกับของภาครัฐ เพื่ออบรมสัมมนาภายในหน่วยงาน

  การขนส่งสาธารณะข้ามจังหวัด เช่น รถตู้ รถทัวร์ รถไฟ เครื่องบิน

  • ผู้โดยสารสามารถนั่งติดกัน 2 ที่นั่ง เว้น 1 ที่นั่ง และจำกัดจำนวนผู้โดยสารไม่เกิน 70%
  • รถโดยสารสาธารณะทางไกล ต้องจอดพักรถทุก 2 ชั่วโมง
  • มีการลงทะเบียนผู้โดยสารเพื่อติดตามตัว

กิจการ / กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตที่ได้รับการผ่อนปรนในระยะที่ 4

  การจัดประชุม อบรมสัมมนา จัดนิทรรศการ งานพิธี งานจัดเลี้ยง การแสดงดนตรี คอนเสิร์ต หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดภายในโรงแรม โรงมหรสพ ห้องประชุม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า โรงภาพยนตร์ หรือในสถานที่อื่น ๆ โดยมีเกณฑ์การรองรับแขกดังนี้

  • ประชุม อบรมสัมมนา คิดเกณฑ์ 4 ตารางเมตร / คน
  • จัดเลี้ยง งานอีเวนต์ จัดแสดงสินค้า ประกวด แข่งกีฬา ระยะยืน – นั่ง ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
  • คอนเสิร์ต งานดนตรี ลดความหนาแน่นและไร้ระเบียบ คิดเกณฑ์ 5 ตารางเมตร / คน

  อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไป โรงแรม รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ได้รับการผ่อนปรนไปก่อนหน้านี้แล้ว (ยกเว้นสถานบันเทิง สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ และโรงเบียร์ ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิด)

  เปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์เด็กพิเศษ สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานที่บริการดูแลผู้สูงอายุ หรือสถานสงเคราะห์ที่จัดสวัสดิการให้แก่เด็กหรือผู้สูงอายุ โดยมีเกณฑ์การรองรับดังนี้

  • เด็ก แบ่งกลุ่มเล็ก เกณฑ์ 2 ตารางเมตร / คน
  • ผู้สูงวัย ต้องได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คัดกรองไข้และแยกผู้ป่วยออกจากกัน

  เปิดศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น ท้องฟ้าจำลอง กรณีที่เข้าชมเป็นกลุ่ม ให้แบ่งเป็นกลุ่มเล็กและเข้าชมเป็นรอบ

  กองถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อโฆษณาทุกประเภท รวมทุกแผนกต้องมีจำนวนคนไม่เกิน 150 คน และจำกัดจำนวนผู้ชมไม่เกิน 50 คน

กิจการ / กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ หรือสันทนาการที่ได้รับการผ่อนปรนในระยะที่ 4

  เปิดบริการอบตัว อบสมุนไพร หรืออบไอน้ำแบบรวมในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือนวดแผนไทย (ยกเว้นอาบ อบ นวด ที่ยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ) โดยเน้นให้บริการแบบแยกห้องเดี่ยว สำหรับห้องรวม หรือบ่อออนเซ็นรวม ให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการต่อรอบ คิดเกณฑ์ 5 ตารางเมตร / คน

  อนุญาตให้ออกกำลังกายแบบรวมกลุ่มในสวนสาธารณะ ลานกิจกรรม พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ หรือลานกีฬากลางแจ้ง เช่น เต้นแอโรบิก รำไทเก๊ก โดยที่จำกัดจำนวนคนไม่เกิน 50 คน คิดเกณฑ์ 5 ตารางเมตร / คน

  เปิดสวนน้ำ (คิดเกณฑ์ 4 ตารางเมตร ต่อผู้ใช้บริการ 1 คน) สนามเด็กเล่น สวนสนุก (ยกเว้นเครื่องเล่นชั่วคราวหรือมีผิวสัมผัสมาก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็ก เช่น บ้านบอล บ้านลม)

  เปิดสนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย หรือลานกีฬาเพื่อการเรียนการสอน โดยสามารถจัดให้มีการแข่งขันและถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ได้ แต่ต้องไม่มีผู้ชมอยู่ในสนามแข่งขัน

  เปิดตู้เกม เครื่องเล่นหยอดเหรียญที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์

ข้อมูลจาก : แถลงสถานการณ์ COVID-19 โดย ศบค. วันที่ 12 มิ.ย. 63

ศบค. คลายล็อกเฟส 5 เปิดผับ บาร์ คาราโอเกะ และอาบ อบ นวดได้ แต่ให้ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึง 31 ก.ค. 63

วันนี้ (29 มิถุนายน 2563) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เปิดเผยมติที่ประชุมใหญ่ ศบค. เกี่ยวกับมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 5 โดยมีมาตรการหลักดังต่อไปนี้

  ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

  ยังคงมาตรการควบคุมการเดินทางเข้า – ออกราชอาณาจักรทั้งทางบก น้ำ และอากาศ

  เปิดโรงเรียนและสถานศึกษาทุกประเภท ให้กลับมาประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามปกติ

  เปิดอาคารสถานที่ของหน่วยงานราชการและหน่วยงานในกำกับของภาครัฐ ให้ทำการได้ตามปกติ

  ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดบริการได้ทุกโซน ส่วนเวลาเปิด – ปิดบริการสามารถกลับมาใช้ห้วงเวลาปกติได้แล้ว

  สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ โรงเหล้า โรงเบียร์ ลานเบียร์ เปิดบริการได้ถึงไม่เกินเที่ยงคืนทุกกรณี และต้องมีระยะห่างระหว่างโต๊ะไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรือฉากกั้นสูงไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร รวมทั้งต้องมีพื้นที่สูบบุหรี่เฉพาะส่วนบุคคล และลงทะเบียนใช้บริการเข้า-ออกผ่านแอพพลิเคชัน “ไทยชนะ”

  ร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต จำกัดการใช้บริการรอบละไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อพักทำความสะอาดฆ่าเชื้อ 15 นาที

  สถานประกอบกิจการ อาบ อบ นวด โรงน้ำชา ผู้เข้าใช้บริการและผู้ให้บริการต้องสวมหน้ากากป้องกันตลอดเวลา ยกเว้นขณะอาบน้ำ

ข้อมูลจาก : แถลงสถานการณ์ COVID-19 โดย ศบค. วันที่ 29 มิ.ย. 63

กพท. ประกาศคลายล็อกน่านฟ้า อนุญาตอากาศยานและบุคคล 11 กลุ่มเดินทางเข้าออกประเทศไทย มีผล 1 ก.ค. นี้

เมื่อวานนี้ (29 มิถุนายน) จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ลงนามในประกาศ เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทำการบินเข้าออกประเทศไทย

ตามที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้มีการห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 นั้น

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวยังคงมีความรุนแรงในต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการจำกัดการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับความสามารถในการจัดการคัดกรองของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรการป้องกันโรค และเพื่อการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานบินผ่าน บินเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร หรือขึ้นลงในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 อากาศยานดังต่อไปนี้สามารถทำการบินผ่าน บินเข้าออกนอกราชอาณาจักร หรือขึ้นลงในท่าอากาศยานที่ให้บริการการบินระหว่างประเทศได้ เมื่อได้รับการอนุญาตการบินจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

1. อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or Military Aircraft)
2. อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing)
3. อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค (Technical Landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง
4. อากาศยานที่ทำการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทำการบินทางการแพทย์ หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (Humanitarian Aid, Medical and Relief Flights)
5. อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลำเนา (Repatriation)
6. อากาศยานขนส่งสินค้า (Cargo Aircraft)

ข้อ 2 อากาศยานขนส่งคนโดยสารที่จะทำการบินผ่าน บินเข้าออกนอกราชอาณาจักร หรือขึ้นลงในท่าอากาศยานในราชอาณาจักรที่ให้บริการการบินระหว่างประเทศ จะได้รับอนุญาตการบินจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเฉพาะเมื่อผู้โดยสารหรือผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้นเป็นบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. ผู้มีสัญชาติไทย
2. ผู้มีเหตุยกเว้น หรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามความจำเป็น โดยอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้
3. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้มีสัญชาติไทย
4. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
5. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ตลอดจนคู่สมรสหรือบุตรของบุคคลดังกล่าว
6. ผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น แต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว
7. ผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจ และมีกำหนดเวลาเดินทางออกนอกราชอาณาจักรชัดเจน
8. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาของสถานศึกษาในประเทศไทยที่ทางการไทยรับรอง ตลอดจนบิดามารดาหรือผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว
9. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทยและผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าว แต่ต้องไม่เป็นกรณีเข้ามาเพื่อการรักษาพยาบาลโรคโควิด-19
10. บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือบุคคลในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว
11. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ (Special Arrangement) กับต่างประเทศ

ข้อ 3 อากาศยานและผู้โดยสารหรือผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อ 2 จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และหลักเกณฑ์ของผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีผลบังคับใช้อยู่ เพื่อการป้องกันโรคและจัดระเบียบจำนวนบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองและการจัดสถานที่ไว้กักกัน (Quarantine)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เวลา 00.01 น. เป็นต้นไป

Pic 200331 0016

โควิด-19 เราป้องกันได้ ด้วยหน้ากากและแผ่นกรองอนามัยที่ได้มาตรฐาน

ผ้ามัสลิน เป็นผ้าที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันฝอยละอองของสารเหลว สารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกายได้มากที่สุดและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์

Ok Mask “หน้ากากผ้ามัสลิน” หน้ากากผ้าคุณภาพมาตรฐานทางการแพทย์ รูปทรงกระชับรับกับทุกใบหน้า ป้องกันละอองฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19)

หน้ากากผ้าเย็บ 4 ชั้น พร้อมช่องใส่แผ่นกรองอนามัย

  • ชั้นที่ 1 ผ้ามัสลิน Organic Cotton 100%
  • ชั้นที่ 2 ผ้าฟิโรเน่ (ผ้าใยซับในรองพื้น)
  • ชั้นที่ 3 ผ้ามัสลิน Organic Cotton 100%
  • ชั้นที่ 4 ผ้ามัสลิน Organic Cotton 100% พร้อมช่องใส่แผ่นกรองอนามัย

ข้อดีของผ้ามัสลิน

  • ระบายอากาศได้ดี
  • น้ำหนักเบา
  • เป็นเส้นใยธรรมชาติ อ่อนโยนต่อผิว
  • ซักและใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
Pack 01

Pack 1 : หน้ากากผ้ามัสลิน 2 ชิ้น + แผ่นกรองอนามัย 30 ชิ้น ราคา 299 บาท

Pack 02

Pack 2 : หน้ากากผ้ามัสลิน 1 ชิ้น + แผ่นกรองอนามัย 15 ชิ้น ราคา 199 บาท

Pack 03

Pack 3 : หน้ากากผ้ามัสลิน 4 ชิ้น ราคา 349 บาท (คละลาย)

Pack 04

Pack 4 : หน้ากากผ้ามัสลิน 2 ชิ้น ราคา 178 บาท (เลือกลายได้)

สั่งสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม