Web Thumbnail

วางแผนเก็บเงินอย่างไรให้ได้แต่งงาน


” คบมาตั้งนานละ เมื่อไหร่จะได้แต่งงานบ้างนะ “

” พ่อตาเตรียมยกลูกสาวให้แล้ว แต่ทำไม แฟนไม่มาขอซักที “

” อยากจัดงานแต่งงานแต่กลัวเงินไม่พอ “

” เก็บเงินยังไง ถึงจะพอจัดงานแต่งงาน “

——————————————————–

หลากหลายคำถามและปัญหาคาใจของคู่รักที่มีอยู่ในหัวกับการวางแผนการเงินในการจัดงานแต่งงาน เพราะเมื่อเรียนจบทำงานแล้วต่างก็อยากจะได้ใช้เงินที่หามาได้ เช่น ซื้อความสุขให้ตัวเอง เลี้ยงดูพ่อแม่ ซื้อรถ ซื้อบ้านคอนโด การลงทุน ส่วนเรื่องของชีวิตคู่ หลายคู่อาจจะคิดแต่งงานเมื่อเงินพร้อม แล้วเมื่อไหร่ล่ะ ปัญหาอยู่ที่การเงิน การงานยังไม่มั่นคง หรือยังไม่แน่ใจว่าใช่คนนี้หรือเปล่ากันแน่ ส่วนคนที่ความรักหวานชื่นและพร้อมที่จะแชร์ทั้งสุขทุกข์ด้วยกันแล้ว เรามาวางแผนการเงินสำหรับใช้ในการแต่งงานกันค่ะ

ได้เวลาสละโสดแล้วจ้าาา

1.วางแผนงบประมาณในการจัดงานแต่งงาน

คำว่าวางแผนงบประมาณนั้น หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ใช้จัดงานแต่งงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสินสอดทองหมั้นทั้งหมดเท่าไหร่ ค่าจัดงานประมาณเท่าไหร่ โต๊ะจีนดีไหม พิธีการ งานเช้างานเย็น ฯลฯ รวมถึงค่าใช้จ่ายคร่าวๆที่ต้องในงานแต่งงานด้วย แต่ถ้าบ้านรวยหรือพร้อมอยู่แล้วก็เตรียมงานได้เลย

2. กำหนดวันแต่งงาน

ตั้ง Timeline ไปเลยว่าอยากจัดแต่งงานเมื่อไหร่ ขอเก็บเงินอีก 2 ปีแล้วแต่งงาน หรือดูฤกษ์แต่งงานล่วงหน้าข้ามปีไปเลยเพื่อวางแผนการเก็บเงินแต่งงานระยะยาว รวมถึงระหว่างที่กำลังเก็บเงินแต่งงาน ก็ยังเป็นการใช้เวลาหาข้อมูลต่างๆรวมถึงหาราคาที่เหมาะสมสำหรับงานแต่งงานของเราอีกด้วย

3. ลิสต์ค่าใช้จ่ายจำเป็นทั้งหมด

มีอะไรจำเป็นต้องจ่ายในงานแต่งงานบ้าง นอกเหนือจากเงินสินสอด  ทองหมั้น เช่นราคาค่าชุดแต่งงาน แพคเกจถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง รองเท้าเจ้าสาว รองเท้าเจ้าบ่าว Wedding planer รวมถึงค่าใช้จ่ายยิบย่อยที่จำเป็นสำหรับจัดงานแต่งงาน

Wedding-Expense_2

4. เก็บเงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย

เมื่อเป้าหมายมีไว้พุ่งชน ก็ตั้งเป้าวางแผนเก็บเงินได้เลย หากพอรู้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปแล้วหลายคนอาจจะต้องปาดเหงื่อกับเงินที่ต้องจ่ายออกไป แต่เพื่อครอบครัวและความสุขของว่าที่ภรรยาในอนาคต สำหรับการเก็บเงินที่ใช้ในงานแต่งงานนั้นควรคุยกันระหว่างคุณกับแฟนว่าจะช่วยกันเก็บคนละเท่าไหร่ เช่นคนละ 40% ของเงินเดือนที่ได้รับ หรือต่างคนต่างเก็บเช่น ฝ่ายชายเก็บในส่วนของค่าสินสอด ส่วนฝ่ายหญิงเก็บเงินในส่วนของการจัดเลี้ยงเป็นต้น

5. หารายได้เสริม

เมื่อเงินเก็บจากเงินเดือนไม่เพียงพอ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหารายได้เสริมเพื่อใช้จ่ายสำหรับงานแต่งงานสำหรับงานใหญ่ที่มีแขกมาร่วมงานจำนวนมาก แต่ถ้าเราเลือกจัดงานแต่งงานแบบประหยัด ก็จะใช้ระยะเวลาไม่นานในการเก็บเงินค่ะ แต่สำหรับหลายคู่ที่ต้องจ่ายทุกอย่างทั้งหมด ในส่วนนี้อาจต้องหารายได้เพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายที่จำเป็นต้องห้จ่ายออกไป

6. ค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผน

เมื่อวางแผนแต่งงานเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเรื่องการวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับงานแต่งงานทั้งหมด ควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดงานเลี้ยง ค่าสินสอด ค่าชุดแต่งงาน ค่าถ่ายพรีเวดดิ้ง ค่าแหวนแต่งงาน ค่าพิธีการงานเช้า รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆยิบย่อย โดยการทำบัญชีรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งตรงไหนที่จ่ายมากเกินกว่าที่วางแผนไว้ก็ลดรายจ่ายบางส่วนลงเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินกว่าที่ตั้งไว้ ข้อดีสำหรับการวางแผนค่าใช้จ่ายคือเราสามารถควบคุมรายจ่ายทั้งหมดไม่ให้เกินงบประมาณในกระเป๋าของเราค่ะ

7. วางแผนการออมสำหรับครอบครัว

เมื่อจัดงานแต่งงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้เรียบร้อยแล้ว ก็เป็นที่เรื่องของการวางแผนครอบครัวแล้วค่ะ โดยเฉพาะหลังจากแต่งงาน จะมีค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าใช้จ่ายการศึกษาบุตร ค่าใช้จ่ายในบ้านเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเนต ฯลฯ หากวางแผนการเงินผิดพลาดโดยไม่มีการออม จะทำให้ครอบครัวของเรามีปัญหาทางการเงินในอนาคตได้ค่ะ