พิธีแต่งงานแบบคริสต์ 1024x682 2

พิธีแต่งงานแบบคริสต์


หากคู่รักคู่ไหนที่กำลังมีแพลนจะจัดงานแต่งงานแบบคริสต์ในโบสถ์แบบคาทอลิก ไม่ว่าจะด้วยตนนับถือศาสนาคริสต์ หรือว่าที่เจ้าบ่าว/เจ้าสาวเป็นชาวคริสต์ Weddinglist นำรายละเอียดการจัดพิธีแต่งงานแบบคริสต์แบบตั้งแต่ต้นจนจบมาฝากกันค่ะ

 

หากนึกถึง “การแต่งงาน” ภาพคลาสสิคอย่างฉากเจ้าบ่าวและเจ้าสาวกล่าวคำปฏิญาณต่อกัน ต่อหน้าบาทหลวงในโบสถ์ ท่ามกลางความสงบ อบอุ่น และศักดิ์สิทธิ์ คงเป็นภาพการแต่งงานในอุดมคติแรก ๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิด
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์จากพิธีกรรม จารีต และความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งงานของศาสนาคริสต์ ทำให้พิธีแต่งงานแบบชาวคริสต์เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งความโรแมนติกในทุกรายละเอียด

1 1

 

สำหรับศาสนาคริสต์ “การแต่งงาน” นับเป็นศีลสำคัญทางศาสนา เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต ด้วยความเชื่อว่าการที่ชายหญิงแต่งงานกันนั้น เป็นการรวมทั้งสองคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อสร้างครอบครัว สร้างประชากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างดีงาม ซึ่งการแต่งงานนั้นจะมีได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตของคริสตชน หากแต่งงานแล้ว จะไม่สามารถหย่าร้างเพื่อไปแต่งงานใหม่อีกได้ ยกเว้นแต่ว่าคู่ของตนจะเสียชีวิตไปแล้ว

“พระ​ผู้​ทรง​สร้าง​มนุษย์​แต่​เดิม​นั้นทรง​สร้าง​ให้​เป็น​ชาย​และ​หญิง และ​ตรัส​ว่า

‘เพราะ​เหตุ‍นี้ ผู้‍ชาย​จะ​ละ​บิดา​มารดา​ไป​ผูก​พัน​อยู่​กับ​ภรรยา และ​เขา​ทั้ง‍สอง​จะ​เป็น​เนื้อ​เดียว‍กัน’

ด้วย‍เหตุ‍นี้​เขา​ทั้ง‍สอง​จึง​ไม่​เป็น​สอง​ต่อ‍ไป แต่​เป็น​เนื้อ​อัน​เดียว‍กัน

เพราะ‍ฉะนั้น​สิ่ง​ซึ่ง​พระ‍เจ้า​ทรง​ผูก‍พัน​กัน​แล้ว อย่า​ให้​มนุษย์​ทำ​ให้​พราก​จาก​กัน​เลย” (มัทธิว19:4-6)

14368798 1183634008364059 7799683873853326639 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.weddinglist.co.th/sitphotograph

12540864 10153979432037216 8929612511129708941 n

12540951 10153979425567216 1746731086200339005 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

การทำพิธีแต่งงานแบบคริสต์นั้น มี 2 แบบด้วยกัน คือ

1. ว่าที่บ่าวสาวเป็นคริสตชนทั้งสองฝ่าย จะเรียกว่า “ศีลสมรส”

เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์สำคัญตามหลักศาสนา ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะสามารถประกอบพิธีร่วมกันทุกขั้นตอนแบบคริสตชน

2. มีเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคริสตชน เรียกว่า “พิธีสมรส”

ไม่นับเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ และสำหรับฝ่ายที่นับถือศาสนาอื่นจะต้องงดบางขั้นตอนของพิธีแต่งงานซึ่งเป็นข้อความเชื่อเฉพาะทางศาสนา

ซึ่งการแต่งงานแบบคริสต์นั้นสงวนไว้เฉพาะว่าที่บ่าวสาวใน 2 กรณีข้างต้นค่ะ

12647032 10153979438802216 594375996398551911 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

ในประเทศไทยนั้นว่าที่บ่าวสาวชาวคริสต์สามารถแต่งงานได้เฉพาะในโบสถ์เท่านั้นและไม่สามารถประกอบพิธีแต่งงานนอกสถานที่ได้ ซึ่งสำหรับคริสตชนคาทอลิกแล้วสามารถทำพิธีแต่งงานที่โบสถ์คาทอลิกที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโบสถ์ที่ว่าที่เจ้าบ่าว/เจ้าสาวทำพิธีรับศีลล้างบาป แต่ส่วนมากแล้วจะทำพิธีที่โบสถ์ที่เจ้าบ่าว/เจ้าสาวได้มาเข้าร่วมปฏิบัติศาสนกิจและคลุกคลีอยู่เป็นประจำค่ะ

10306312 10153979423227216 2045522547203830300 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

644197 646790241998447 1561980969 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.weddinglist.co.th/birdeyeviewphoto

 

เมื่อคู่รักคริสตชนตกลงปลงใจและมีแพลนจะแต่งงานแล้ว ต่อไปนี้เป็นลำดับขั้นตอนทั้งหมดก่อนจะไปถึงพิธีแต่งงานค่ะ

1. ติดต่อ และจองเวลากับทางโบสถ์ด้วยตัวเอง

ทางว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องเข้าไปติดต่อกับสำนักงานของทางโบสถ์ที่ประสงค์จะทำพิธีแต่งงานเพื่อจองเวลาทำพิธีแต่งงานด้วยตนเอง โดยจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดเงื่อนไขเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดพิธีแต่งงานกับทางบาทหลวงโดยตรงด้วย หากไม่มีข้อสะดุดหรือข้อขัดขวางใด ๆ ในการแต่งงาน ทางวัดจึงจะรับการลงจองเวลาแต่งงานค่ะ

เวลาสำหรับทำพิธีแต่งงาน  :

อาสนวิหารอัสสัมชัญบางรัก
วันธรรมดา (จันทร์ ถึง ศุกร์)10.00 น. หรือ 11.00 น.
วันเสาร์10.00 น. และ 13.00 น.
วันอาทิตย์13.00 น.
โบสถ์พระมหาไถ่
วันธรรมดา (ยกเว้นวันพุธ)9.00 น. ถึง 15.00 น.
วันเสาร์ และอาทิตย์14.00 น. ถึง 15.30 น.

***ทั้งนี้ ว่าที่บ่าวสาวควรติดต่อและดำเนินการจองเวลากับทางโบสถ์ก่อนกำหนดการล่วงหนาประมาณ 3 เดือนค่ะ เพื่อเป็นการเผื่อเวลาการเตรียมการขั้นอื่น ๆ และเป็นการดูความสะดวกของทางโบสถ์ล่วงหน้าด้วย เนื่องจากหากกำหนดการตรงกับเทศกาลพิเศษที่จะต้องมีการประกอบพิธีทางศาสนา อาจไม่สามารถทำพิธีแต่งงานให้ได้ เช่น

วันอาทิตย์ของเทศกาลมหาพรต : เดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนเมษายน
วันอาทิตย์ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า(เทศกาลคริสต์มาส) : เดือนธันวาคม
และโอกาสอื่น ๆ ซึ่งเป็นงานของทางโบสถ์

 

2. เข้ารับการอบรมชีวิตสมรส

การ “อบรมชีวิตสมรส” หรือ “อบรมคู่แต่งงาน” คือการอบรมเกี่ยวกับการแต่งงานและหลักความเชื่อ ข้อคิด คำสอนของศาสนาคริสต์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตแต่งงานทั้งก่อนและหลังการแต่งงาน รวมถึงบทบาทความเป็นสามีภรรยา ความเป็นพ่อแม่ และการดูแลบุตร ซึ่งในเขตกรุงเทพฯ ทางว่าที่บ่าวสาวสามารถเลือกเข้าอบรมได้ 2 ที่ คือ อาสนวิหารอัสสัมชัญบางรัก หรือโบสถ์พระมหาไถ่ ที่ซอยร่วมฤดีก็ได้แล้วแต่สะดวก ตามกำหนดการดังนี้ค่ะ

1. อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก (ที่สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ตึกด้านซ้ายมือของโบสถ์)
ทุกวันอาทิตย์ที่ 3 และ 4 ของทุกเดือน เวลา 8.20 น. ถึง 12.00 น.
2. โบสถ์พระมหาไถ่
ทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 2 ของทุกเดือน เวลา 8.20 น. ถึง 12.00 น.
โดยทางคู่บ่าวสาวต้องเข้าอบรมต่อเนื่องกันทั้ง 2 ครั้งค่ะ

 

IMG 9423

  • อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก

holyredeemerbangkok.net

  • โบสถ์พระมหาไถ่ ซอยร่วมฤดี

3. พิจารณาเอกสารหลักฐาน และสัมภาษณ์กับบาทหลวงเจ้าอาวาสโบสถ์

การพิจารณาเอกสารเหล่านี้ เป็นการยืนยันความเป็นคริสตชนที่ผ่านการรับศีลล้างบาป(Baptism) เป็นคริสตชนคาทอลิก และรับศีลกำลัง ผ่านพิธีกรรมซึ่งเป็นข้อความเชื่อสำคัญของศาสนาเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งเป็นการพิจารณาข้อมูลประวัติบุคคลเบื้องต้น รวมไปถึงประวัติเกี่ยวกับการแต่งงานของทั้งว่าที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวว่ามีข้อขัดข้องต่อการแต่งงานครั้งนี้หรือไม่
ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้พิจารณาและเป็นหลักฐานดังนี้ค่ะ

สำหรับผู้ที่เป็นคริสตชน
1. ใบศีลล้างบาป ที่ออกให้มาไม่เกิน 6 เดือน (ขอได้จากวัดที่ตนเองได้รับศีลล้างบาป ระบุเพื่อการแต่งงาน)
2. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน)
3. สำเนาบัตรประชาชน
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
5. สำเนามรณบัตรของคู่ครองเดิม (ถ้าเคยแต่งงานมาก่อน)
6. สำเนาประกาศนียบัตรอบรมชีวิตคู่สมรส
7. รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป

สำหรับคู่แต่งงานที่มิใช่คริสตชน
1. ใบรับรองสถานะของของฝ่ายที่มิใช่คาทอลิก (ขอแบบฟอร์มได้ที่สำนักงานโบสถ์)
2. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน)
3. สำเนาบัตรประชาชน
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
5. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับรอง
6. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับรอง
7. สำเนามรณบัตรของคู่ครองเดิม (หากเคยแต่งงานมาก่อน)
8. สำเนาประกาศนียบัตรอบรมชีวิตคู่สมรส
9. รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป
นอกจากการพิจารณาจากเอกสารแล้วยังต้องมีการสัมภาษณ์สอบสวนกับบาทหลวงเจ้าอาวาสก่อนการแต่งงาน ซึ่งขั้นตอนนี้ควรเป็นเวลาล่วงหน้ากำหนดการแต่งงานอย่างน้อย 1 เดือนค่ะ

 

10403092 923507841043345 2104544242286519833 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.weddinglist.co.th/sitphotograph

 

4. ประกาศข่าวแต่งงานภายในโบสถ์

ทางโบสถ์จะมีการประกาศข่าวการแต่งงานของทางว่าที่บ่าวสาวออกไปทั้งโดยการประกาศข่าวดีในช่วงท้ายของพิธีมิสซาและจัดพิมพ์ลงในคอลัมน์ประกาศแต่งงานบนสารวัดในแต่ละสัปดาห์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ข่าวดีของพิธีแต่งงานของบ่าวสาวออกไปให้สังคมคริสตชนรับรู้ และเพื่อว่าหากมีบุคคลใดมีข้อขัดแย้งเพิ่มเติมจะได้สามารถแจ้งให้บาทหลวงรับทราบ

 

5. ซ้อมพิธีแต่งงาน

การซ้อมพิธีแต่งงานนั้นจะมีขึ้นก่อนวันจริงประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เป็นการเตรียมพร้อม ทำความเข้าใจลำดับงานในพิธี และรันคิวกันแบบเหมือนพิธีจริงตั้งแต่ต้นจนจบ โดยจะมีตั้งแต่บาทหลวงผู้ทำพิธี คู่บ่าวสาว เพื่อนเจ้าบ่าว เพื่อนเจ้าสาว เด็กถือแหวน ไปจนถึงเด็กโปรยกลีบดอกไม้

พิธีแต่งงาน

12565396 10153979425372216 6011343772225742494 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

เมื่อผ่านขั้นตอนการพิจารณาและตระเตรียมทุกอย่างมาร่วมหลายเดือนจนได้มาถึงวันแต่งงานจริงแล้ว คงมีทั้งความโล่งใจและอิ่มเอมใจกับพิธีแต่งงานที่มาถึงค่ะ พิธีแต่งงานแบบคริสต์เรียกได้ว่าเป็นพิธีที่เป็นกิจกรรมแห่งความรักในหมู่ครอบครัวและมิตรสหายอย่างแท้จริงค่ะ เพราะบรรดาครอบครัวและเพื่อนฝูง นอกจากจะได้รับเกียรติมาเป็นพยานแห่งรักและชีวิตใหม่ของทั้งบ่าวสาวแล้ว ยังมีส่วนในพิธี ส่งบ่าวสาวสู่ชีวิตใหม่จนถึงหน้าพิธี และอยู่เคียงข้าง คอยหนุนหลัง แสดงความยินดี อิ่มเอมร่วมไปกับบ่าวสาวค่ะ

ว่าที่บ่าวสาวแค่เตรียมซ้อมพิธีอย่างดี เตรียมใจให้สงบ เตรียมชุดแต่งงานที่เหมาะสม ให้ทุกขั้นตอนในพิธีเป็นไปตามคิวที่ซ้อมไว้ ช่วงแรกก่อนการแต่งงานและการตระเตรียมลำดับในพิธีอาจดูยุ่งยากและรายละเอียดเยอะ แต่เมื่อมาถึงในพิธีแล้ว ทุกอย่างจะเรียบง่ายและเป็นไปตามพิธีการอย่างสงบ ไม่วุ่นวายอย่างที่คิดค่ะ

พิธีแต่งงานแบบคริสต์ มีรายละเอียดพิธีการคล้ายการประกอบพิธีมิสซา (พิธีขอบคุณพระเจ้า) ของคริสตชน มีการลำดับพิธีเป็นที่คุ้นเคยของเจ้าบ่าว/เจ้าสาวที่เป็นคริสตชนอยู่แล้ว แค่มีรายละเอียดเรื่องการเดินขบวน ลำดับการนั่ง และช่วงกล่าวคำปฏิญาณระหว่างคู่สมรสเพิ่มเข้ามาเท่านั้นเองค่ะ

 

12376386 10153979421962216 7477401648444532241 n

12494875 10153979420747216 9146881775457329435 nขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

เริ่มที่ขบวนการเดินเข้าโบสถ์ในช่วงเริ่มพิธีกันค่ะ

ขบวนเดินเข้าโบสถ์นั้นจะนำหน้ามาด้วยขบวนเพื่อนเจ้าสาวและเพื่อนเจ้าบ่าว ซึ่งคู่แรกจะเป็นเพื่อนเจ้าบ่าว/เพื่อนเจ้าสาวที่สนิทที่สุด ควรเลือกเพื่อน พี่น้อง หรือญาติสนิทที่มีความสนิทสนมไว้วางใจกันที่สุดจริง ๆ จากนั้นตามมาด้วยเด็กโปรยดอกไม้ ซึ่งเป็นเด็กผู้หญิงอายุประมาณ 3 – 8 ปี และเด็กถือแหวนซึ่งเป็นเด็กผู้ชายที่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับบ่าวสาว อายุไม่เกิน 13 ปี สำหรับถือพานใส่แหวนแต่งงานของบ่าวสาว ตามด้วยบรรดาเพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว

แต่งงุน

 

เมื่อเดินขบวนมาถึงหน้าพระแท่นพิธี เพื่อนเจ้าสาว เพื่อนเจ้าบ่าว และเด็ก ๆ จะยืนอยู่ตามตำแหน่งของตัวเอง ว่าที่เจ้าบ่าวจะยืนรอเจ้าสาวอยู่หน้าพระแท่นพิธีค่ะ ส่วนเจ้าสาวจะเดินควงแขนมากับคุณพ่อเจ้าสาว หรือหากคุณพ่อเสียชีวิตแล้ว ก็อาจเชิญญาติผู้ใหญ่ที่นับถือและสนิทสนมมาแทนก็ได้ค่ะ

 

1919075 10153979422637216 7455983062545199385 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

เมื่อเจ้าสาวมาถึง เจ้าบ่าวจะกล่าวขอบคุณคุณพ่อเจ้าสาว และรับเจ้าสาวมาด้วยมือซ้าย หลังจากนั้นทุกคนในพิธีจะยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติพิธีที่จะเริ่มขึ้นค่ะ

พิธีแต่งงานจะคล้ายพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณพระเจ้าตามปกติค่ะ แต่บาทหลวงผู้ทำพิธีจะมีการกล่าวเริ่มพิธีด้วยบทพูดที่เป็นการต้อนรับคู่บ่าวสาวในพิธีแต่งงานค่ะ

เริ่มพิธี – เป็นการสวดภาวนา และร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งบาทหลวงจะกล่าวนำ ส่วนว่าที่เจ้าบ่าว/เจ้าสาว หรือญาติ ๆ ที่ไม่ได้เป็นคริสตชนสามารถกล่าวรับคำ และร้องเพลงตามได้ตามเอกสารประกอบพิธีการที่จะมีการแจกก่อนเริ่มงาน ซึ่งมีทั้งบทภาวนา บทกล่าว และบทเพลงไว้ให้เรียบร้อย รวมทั้งคิวการ ยืน นั่ง คุกเข่า รับรองว่าไม่ต้องกลัวงงกันเลยค่ะ

ภาควจนพิธีกรรม (การกล่าวบทอ่านจากพระคัมภีร์) – เป็นการหยิบบทความคำสอนจากในพระคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้องกับความรักและการแต่งงานขึ้นมาอ่านค่ะ

บทพระวรสาร – บาทหลวงจะหยิบยกบทอ่านจากในพระคัมภีร์เกี่ยวกับการแต่งงานขึ้นมาอีกครั้ง แต่คราวนี้บาทหลวงจะกล่าวเทศน์เป็นพิเศษเกี่ยวกับการแต่งงานค่ะ

พิธีศีลสมรส (พิธีสมรส) – ในช่วงนี้ทุกคนรวมทั้งบ่าวสาวจะลุกขึ้นยืน และบาทหลวงจะทำการกล่าวนำเพื่อให้บ่าวสาวรับคำปฏิญาณการแต่งงาน โดยฝ่ายบ่าวสาวจะแค่กล่าวว่า “รับค่ะ” / รับครับ” เท่านั้น แต่ในสมัยนี้ส่วนมากจะนิยมให้บาทหลวงแค่กล่าวนำ แล้วให้คู่บ่าวสาวเป็นผู้กล่าวคำปฏิญาณเองทั้งหมด โดยที่ทั้งคู่จับมือกันไว้ และกล่าวว่า

“…ขาพเจา..(ออกชื่อตัวเอง)..ขอรับคุณ..(ออกชื่อเจาสาว)..เปน ภรรยา

และขอสัญญาวา จะถือซื่อสัตยตอคุณทั้งในยามสุข และยามทุกข ทั้งในเวลาปวยและเวลาสบาย

เพื่อรักและยกยองใหเกียรติคุณจนกวาชีวิตจะหาไม่ ” เป็นต้น

 

12540951 10153979425567216 1746731086200339005 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

การเสกแหวนและสวมแหวน – บาทหลวงจะทำการเสกแหวน(กล่าวอวยพร) และให้บ่าวสาวแลกแหวนสวมให้แก่กัน

ภาวนาเพื่อมวลชนพิธีสมรส – จากนั้นทุกคนจะภาวนาร่วมกัน เป็นการภาวนาเพื่อคู่บ่าวสาว และเพื่อครอบครัวอื่น ๆ ทั่วโลก

ภาคบูชาขอบพระคุณ และรับศีลมหาสนิท – ช่วงนี้จะเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์สำหรับคริสตชนโดยเฉพาะ และมีการรับศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นแผ่นปัง และเหล้าองุ่นสำหรับฝ่ายเจ้าบ่าว/เจ้าสาว ที่เป็นคริสตชน รวมทั้งบรรดาญาติมิตรที่นับถือศาสนาคริสต์(คาทอลิก) จะเดินออกมาเพื่อรับกันค่ะ ส่วนฝ่ายที่ต่างศาสนาและบรรดาญาติ ๆ เพียงนั่งสำรวมและภาวนาส่วนตัวได้โดยไม่ต้องออกมารับค่ะ

 

12540785 10153979438532216 3956065023688660740 n 1

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

ปิดพิธี – บาทหลวงจะกล่าวอวยพร และกล่าวปิดพิธี

คู่บ่าวสาวและพยานจะทำการลงนามในทะเบียนสมรสของโบสถ์

จากนั้นจะมีการเดินขบวนออกจากโบสถ์ ลำดับตามนี้ค่ะ

 

เดินกลับ

12565547 10153979450182216 5586073901750525462 n

12642785 10153979459667216 3751027570816100513 n

 

และสุดท้ายคืออีกฉากในตำนานที่เหล่าสาว ๆ รอคอย นั่นคือประเพณีการโยนช่อดอกไม้ค่ะ เจ้าสาวจะยืนหันหลังให้บรรดาเพื่อนเจ้าสาว และโดยนช่อดอกไม้ไปข้างหลัง อันมีความเชื่อว่า เพื่อนเจ้าสาวคนใดที่รับช่อดอกไม้ได้ จะได้เป็นว่าที่เจ้าสาวคนต่อไปค่ะ

 

12644871 10153979450877216 1372922185112163128 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำพิธีแต่งงานในโบสถ์นั้น ตามธรรมเนียมส่วนใหญ่ จะมีค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างดังนี้ คือ

  1. ค่าบริการจัดพิธี/ค่าบำรุงสถานที่
  2. ค่าตอบแทนผู้ช่วยพิธี
  3. ค่าตอบแทนคณะนักขับร้อง
  4. ค่าจัดดอกไม้  (ที่หน้าพระแท่นพิธี, ภายในโบสถ์, หน้าซุ้มประตูโบสถ์ แล้วแต่ความต้องการของทางคู่บ่าวสาว)  ***ไม่รวมช่อดอกไม้สำหรับเจ้าสาวเดินถือเข้าโบสถ์
  5. ค่าไฟ-แอร์ (บางโบสถ์ที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ อาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดหลั่นกันลงไป)
  6. ทำบุญมิสซา (แล้วแต่ความเห็นเหมาะสมของทางคู่บ่าวสาว)

 

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายการจัดพิธีแต่งงานที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก

  1. ค่าบริการจัดพิธี/ค่าบำรุงสถานที่                 500  บาท
  2. ค่าตอบแทนผู้ช่วยพิธี                                   500  บาท
  3. ค่าตอบแทนนักขับร้อง                                 1,500  บาท
  4. ค่าดอกไม้                                                     10,000  บาท
  5. ค่าไฟ-แอร์                                                    10,000  บาท

 

14355719 1183632805030846 3728470307856283585 n

14364698 1183633791697414 1239669792944256100 n

14370358 1183633471697446 7050361920357518489 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.weddinglist.co.th/sitphotograph

 

Do & Don’t

DO
1. มาถึงโบสถ์ เพื่อประกอบพิธีอย่างตรงเวลา
2. มีบุคคลหนึ่งคอยประสานงานการจัดการพิธีกรรมในโบสถ์ตลอดพิธี
3. แต่งกายสุภาพ มิดชิด
4. สำรวมกิริยา วาจาตลอดพิธีการในโบสถ์
5. รักษาความสะอาด และให้เกียรติสถานที่

DON’T
1. ไม่ควรมีช่างภาพในระหว่างพิธีในโบสถ์เกิน 2 คน
2. ไม่มีการจัดเลี้ยงสังสรรค์ภายในเขตโบสถ์
3. ไม่ใช้เพลงอื่นใดที่นอกเหนือจากเพลงในพิธีทางศาสนาที่ได้รับการรับรองจากโบสถ์เท่านั้น
4. ไม่เข้าไปในเขตที่สงวนไว้เฉพาะบาทหลวง และเขตหวงห้ามภายในวัด
5. ไม่ร่วมพิธีกรรมที่สงวนไว้สำหรับคริสตชน

12573151 10153979425102216 1452763451516823183 n

12417982 10153979418562216 4590417322065476373 n

12548959 10153979418312216 5086349348874244231 n

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

 

ดู โรงแรมจัดงานแต่งงานทำเลใกล้โบสถ์

ดู โรงแรมจัดงานแต่งงานทำเลใกล้โบสถ์

 

 

 

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/VinBuddy

ขอบคุณภาพจาก  :  www.facebook.com/SitPhotographer

ขอบคุณภาพจาก  : www.facebook.com/BirdeyeviewWeddingStudio

และ www.pinterest.com